วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาที่ 14

ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์

คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดยโป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม

สัปดาที่ 13 วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน

วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

1. ตู้เสื้อผ้าที่ทำด้วยไม้ มักจะถูกพวกแมลงต่างๆ มารบกวน เพื่อป้องกันความ ยุ่งยาก จากแมลงเหล่านี้ ใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันสน รองพื้นตู้ที่ติดกับพื้นห้องเอาไว้โดยรอบ จะทำให้แมลงหนีไป
2.ใช้ยาสีฟันขัดเครื่องใช้ที่ทำด้วยแสตนเลส เช่น ช้อนส้อม ชาม จาน โดยเฉพาะ บริเวณลวดลาย ที่ด้ามช้อนส้อม จะช่วยให้สะอาดขึ้น
3.ก้านดอกไม้สั้น ให้ใช้หลอดดูดน้ำหวานเสียบต่อจากปลายก้าน แช่ในน้ำ จัดใส่ แจกันเหมือนดอกไม้ ก้านยาว ดอกไม้จะดูดน้ำขึ้นไปตามหลอดดูด
4.ใช้น้ำสารส้มผสมกับเบียร์ทากระจกที่มัวเป็นฝ้า แล้วขัดด้วยกระดาษ หนังสือพิมพ์ กระจกจะใสเป็นเงา
5.แปรงทุกชนิด เมื่อใช้แล้วควรวางตะแคงข้าง หรือแขวนห้อย อย่าวางหงาย เพราะขนแปรงจะร่วงเร็ว
6.ชามหล่อขาตู้น้ำกับข้าว ควรหยดน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันขี้โล้เล็กน้อย จะกันยุง แมลง และมด ไต่บนผิวน้ำ ไปขึ้นตู้กับข้าว
7.รอยสนิมบนเสื้อผ้า สามารถลบออกได้ โดยใช้เกลือผสมน้ำมะนาว ถูทาก่อน ซักน้ำธรรมดา แล้วนำไปตาก ให้แห้งกลางแดด
8.ถ้าประตูฝืด มีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด แทนที่จะใช้น้ำมันหยด ให้ใช้น้ำสบู่เหลวๆ หยดลงบนบานพับ ความฝืดก็จะหายไป และสามารถล้างให้สะอาดได้ง่ายกว่าน้ำมัน
9.ถ้าล้างแก้วน้ำแล้ว ไม่สะอาดสมใจ ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างอีกครั้ง จะทำให้ แก้วใสขึ้น
10.น้ำที่ใส่ตุ่มไว้นานๆ อาจทำให้เกิดลูกน้ำได้ วิธีแก้ไม่ให้เกิดลูกน้ำ ให้เอาปูนแดง ที่ใช้กินกับหมาก ปั้นเป็นก้อนกลม และตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นจึงนำไปใส่ในตุ่มสัก 4-5 ก้อน น้ำในตุ่มจะไม่เป็นลูกน้ำอีกเลย

สัปดาที่ 12 วิทยาสาสตร์ของภาวะดลกร้อน

วิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อน


แท้จริงแล้ว ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างและจำนวนมากเห็นร่วมกันว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริง และมีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์เป็นหลัก (เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล) ซึ่งหากปราศจากการหยุดยั้งจะนำไปสู่หายนะ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่งว่าเราควรลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนโดยทันที โดยสิ่งนี้ได้ถูกกล่าวถึงไว้ในแถลงการณ์ขององค์กรวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด
แถลงการณ์ร่วมของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 11 แห่งแถลงการณ์นี้เผยแพร่ในวันที่ 7 มิถุนายน 2548 โดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี แคนาดา บราซิล จีน และ อินเดีย แถลงการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นด้วยข้อความต่อไปนี้ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจริงความเข้าใจระบบที่ซับซ้อนอย่างเช่นสภาพอากาศของโลก จะมีผู้สงสัยอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้น หลักฐานเหล่านั้น ได้แก่ การวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวอากาศและอุณหภูมิที่ใต้พื้นผิวทะเลโดยตรง และปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ระดับน้ำทะเลทั่วโลกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ธารน้ำแข็งที่ลดลง และ การเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพและชีวภาพต่างๆ มีแนวโน้มว่าความร้อนในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมามีสาเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ (อ้างถึง: คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ; IPCC) โดยความร้อนได้เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกไปแล้วแถลงการณ์ดังกล่าวสรุปว่า:เรากระตุ้นให้ทุกประเทศใช้หลักการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ในการลงมือปฏิบัติอย่างทันทีเพื่อลดสาเหตุของภาวะโลกร้อน ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้เข้ากับผลกระทบของภาวะโลกร้อน และ รวมภาวะโลกร้อนเข้าไว้ในในกลยุทธ์ของประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
แถลงการณ์ฉบับเต็มในเว็บไซต์ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน (NAS) (ไฟล์ PDF)
ภาวะโลกร้อน โดย สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอังกฤษคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC) ก่อตั้งโดยองค์การสหประชาชาติใน พ.ศ. 2531 เพื่อประเมินข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ และ เศรษฐกิจ-สังคม ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงของภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุจากมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 1,000 คนจากทั่วโลกมีส่วนร่วมในกระบวนการทบทวนรายงาน ดังนั้น IPCC จึงเป็นตัวแทนของความเห็นร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะโลกร้อนทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นข้อความจากการประเมินทางวิทยาศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ของ IPCC
• "อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นใน 50 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มว่าเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นมากขึ้น"• "มีหลักฐานใหม่และน่าเชื่อถือมากขึ้นว่าความร้อนที่เพิ่มขึ้นใน 50 ปีที่ผ่านมามีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์"• "การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์โดยฝีมือมนุษย์ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนออกสู่บรรยากาศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีสาเหตุจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล"
รายงานการประเมินฉบับนี้ระบุต่อไปในเชิงเตือนว่าโลกกำลังเสี่ยงต่อผลกระทบเชิงบวก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่ไม่สามารถควบคุมได้ และระบุว่าภาวะโลกร้อนจนถึงปัจจุบันนั้น กำลังมีผลกระทบต่อพื้นผิวและชั้นบรรยากาศของโลกที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

สัปดาที่ 10 ดวงอาทิตย์แหล่งกำเนิดของดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุด
......ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อม พลังงานที่ดวงอาทิตย์ให้กับโลกทางตรงคือ แสงสว่างซึ่งมีผลทำให้เกิดความร้อน สร้างความอบอุ่นให้กับโลก พลังงานทางอ้อมคือดวงอาทิตย์ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีพอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเจริญเติบโตโดยอาศัยการสังเคราะห์แสงจากแสงอาทิตย์ และมนุษย์ได้อาศัยพลังงานจากต้นไม้ที่สำคัญ ๆ คือ ฟืน ถ่าน และเมื่อพืชและสัตว์ตายทับถมกันเป็นเวลานาน ๆ จะกลายเป็นถ่านหิน ปิโตรเลียม รวมทั้งการนำหลักการย่อยสลายของพืชมาทำเป็นก๊าซชีวภาพ
.......สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพลังงานในทางตรงคือ ความร้อนและแสงสว่างที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้คือ
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานแสงสว่างแก่โลกโดยการแผ่รังสี.....เมื่อวัตถุต่าง ๆ บนผิวโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและกระจายความร้อนออกมา ซึ่งอยู่ในรูปของรังสีอินฟราเรด เราจึงรู้สึกร้อน ขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางมาถึงเรา ส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์จะเดินทางผ่านบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกและมาสู่ดิน ทั้งอากาศและน้ำ จะเป็นกับดักพลังงานความร้อน ต่อมา ดินและน้ำจะคายความร้อนให้อากาศ เราจึงรู้สึกร้อน อากาศจึงเป็นที่ดักความร้อนครั้งสุดท้ายของโลก

สัปดาที่ 9 รังสีอัลตราไวดอเลตจากดวงอาทิตย์

รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคต้อกระจก โรคภูมิแพ้ ผิวหนังที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ อาจเป็นมะเร็งได้ ในบรรยากาศมีชั้นโอโซน (Ozone) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม (O+O) ชั้นโอโซนจะมีความหนาพอสมควร ทำหน้าที่รับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ รังสีที่เหลือลงมายังโลกมีเพียงส่วนน้อยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์
........สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Cholo Fluorocabons) หรือซีเอฟซี (CFC)เป็นสารที่มนุษย์ใช้เกี่ยวข้องกับเครื่องทำความเย็นและโฟม สารเฮลโรน (Halons) ซึ่งมีธาตุจำพวกคลอรีน (Cl) โบรมีน (Br) สารไนตรัสออกไซด์ สารเหล่านี้มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดมากขึ้นในบรรยากาศ มีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนบางลงและเมื่อชั้นโอโซนบางลงทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตทะลุผ่านมายังผิวโลกได้มาก ผลคืออุณหภูมิโลก ร้อนขึ้นจึงเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ