วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาที่ 14

ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์

คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดยโป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม

สัปดาที่ 13 วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน

วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

1. ตู้เสื้อผ้าที่ทำด้วยไม้ มักจะถูกพวกแมลงต่างๆ มารบกวน เพื่อป้องกันความ ยุ่งยาก จากแมลงเหล่านี้ ใช้ผ้าขี้ริ้วชุบน้ำมันสน รองพื้นตู้ที่ติดกับพื้นห้องเอาไว้โดยรอบ จะทำให้แมลงหนีไป
2.ใช้ยาสีฟันขัดเครื่องใช้ที่ทำด้วยแสตนเลส เช่น ช้อนส้อม ชาม จาน โดยเฉพาะ บริเวณลวดลาย ที่ด้ามช้อนส้อม จะช่วยให้สะอาดขึ้น
3.ก้านดอกไม้สั้น ให้ใช้หลอดดูดน้ำหวานเสียบต่อจากปลายก้าน แช่ในน้ำ จัดใส่ แจกันเหมือนดอกไม้ ก้านยาว ดอกไม้จะดูดน้ำขึ้นไปตามหลอดดูด
4.ใช้น้ำสารส้มผสมกับเบียร์ทากระจกที่มัวเป็นฝ้า แล้วขัดด้วยกระดาษ หนังสือพิมพ์ กระจกจะใสเป็นเงา
5.แปรงทุกชนิด เมื่อใช้แล้วควรวางตะแคงข้าง หรือแขวนห้อย อย่าวางหงาย เพราะขนแปรงจะร่วงเร็ว
6.ชามหล่อขาตู้น้ำกับข้าว ควรหยดน้ำมันก๊าด หรือน้ำมันขี้โล้เล็กน้อย จะกันยุง แมลง และมด ไต่บนผิวน้ำ ไปขึ้นตู้กับข้าว
7.รอยสนิมบนเสื้อผ้า สามารถลบออกได้ โดยใช้เกลือผสมน้ำมะนาว ถูทาก่อน ซักน้ำธรรมดา แล้วนำไปตาก ให้แห้งกลางแดด
8.ถ้าประตูฝืด มีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด แทนที่จะใช้น้ำมันหยด ให้ใช้น้ำสบู่เหลวๆ หยดลงบนบานพับ ความฝืดก็จะหายไป และสามารถล้างให้สะอาดได้ง่ายกว่าน้ำมัน
9.ถ้าล้างแก้วน้ำแล้ว ไม่สะอาดสมใจ ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างอีกครั้ง จะทำให้ แก้วใสขึ้น
10.น้ำที่ใส่ตุ่มไว้นานๆ อาจทำให้เกิดลูกน้ำได้ วิธีแก้ไม่ให้เกิดลูกน้ำ ให้เอาปูนแดง ที่ใช้กินกับหมาก ปั้นเป็นก้อนกลม และตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นจึงนำไปใส่ในตุ่มสัก 4-5 ก้อน น้ำในตุ่มจะไม่เป็นลูกน้ำอีกเลย

สัปดาที่ 12 วิทยาสาสตร์ของภาวะดลกร้อน

วิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อน


แท้จริงแล้ว ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างและจำนวนมากเห็นร่วมกันว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริง และมีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์เป็นหลัก (เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล) ซึ่งหากปราศจากการหยุดยั้งจะนำไปสู่หายนะ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่งว่าเราควรลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนโดยทันที โดยสิ่งนี้ได้ถูกกล่าวถึงไว้ในแถลงการณ์ขององค์กรวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด
แถลงการณ์ร่วมของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 11 แห่งแถลงการณ์นี้เผยแพร่ในวันที่ 7 มิถุนายน 2548 โดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี แคนาดา บราซิล จีน และ อินเดีย แถลงการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นด้วยข้อความต่อไปนี้ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจริงความเข้าใจระบบที่ซับซ้อนอย่างเช่นสภาพอากาศของโลก จะมีผู้สงสัยอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือว่าภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้น หลักฐานเหล่านั้น ได้แก่ การวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวอากาศและอุณหภูมิที่ใต้พื้นผิวทะเลโดยตรง และปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ระดับน้ำทะเลทั่วโลกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ธารน้ำแข็งที่ลดลง และ การเปลี่ยนแปลงของระบบทางกายภาพและชีวภาพต่างๆ มีแนวโน้มว่าความร้อนในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมามีสาเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ (อ้างถึง: คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ; IPCC) โดยความร้อนได้เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกไปแล้วแถลงการณ์ดังกล่าวสรุปว่า:เรากระตุ้นให้ทุกประเทศใช้หลักการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ในการลงมือปฏิบัติอย่างทันทีเพื่อลดสาเหตุของภาวะโลกร้อน ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้เข้ากับผลกระทบของภาวะโลกร้อน และ รวมภาวะโลกร้อนเข้าไว้ในในกลยุทธ์ของประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
แถลงการณ์ฉบับเต็มในเว็บไซต์ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน (NAS) (ไฟล์ PDF)
ภาวะโลกร้อน โดย สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอังกฤษคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC) ก่อตั้งโดยองค์การสหประชาชาติใน พ.ศ. 2531 เพื่อประเมินข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ และ เศรษฐกิจ-สังคม ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงของภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุจากมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 1,000 คนจากทั่วโลกมีส่วนร่วมในกระบวนการทบทวนรายงาน ดังนั้น IPCC จึงเป็นตัวแทนของความเห็นร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะโลกร้อนทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นข้อความจากการประเมินทางวิทยาศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ของ IPCC
• "อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นใน 50 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มว่าเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นมากขึ้น"• "มีหลักฐานใหม่และน่าเชื่อถือมากขึ้นว่าความร้อนที่เพิ่มขึ้นใน 50 ปีที่ผ่านมามีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์"• "การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์โดยฝีมือมนุษย์ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนออกสู่บรรยากาศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีสาเหตุจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล"
รายงานการประเมินฉบับนี้ระบุต่อไปในเชิงเตือนว่าโลกกำลังเสี่ยงต่อผลกระทบเชิงบวก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่ไม่สามารถควบคุมได้ และระบุว่าภาวะโลกร้อนจนถึงปัจจุบันนั้น กำลังมีผลกระทบต่อพื้นผิวและชั้นบรรยากาศของโลกที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

สัปดาที่ 10 ดวงอาทิตย์แหล่งกำเนิดของดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุด
......ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อม พลังงานที่ดวงอาทิตย์ให้กับโลกทางตรงคือ แสงสว่างซึ่งมีผลทำให้เกิดความร้อน สร้างความอบอุ่นให้กับโลก พลังงานทางอ้อมคือดวงอาทิตย์ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีพอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเจริญเติบโตโดยอาศัยการสังเคราะห์แสงจากแสงอาทิตย์ และมนุษย์ได้อาศัยพลังงานจากต้นไม้ที่สำคัญ ๆ คือ ฟืน ถ่าน และเมื่อพืชและสัตว์ตายทับถมกันเป็นเวลานาน ๆ จะกลายเป็นถ่านหิน ปิโตรเลียม รวมทั้งการนำหลักการย่อยสลายของพืชมาทำเป็นก๊าซชีวภาพ
.......สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพลังงานในทางตรงคือ ความร้อนและแสงสว่างที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้คือ
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานแสงสว่างแก่โลกโดยการแผ่รังสี.....เมื่อวัตถุต่าง ๆ บนผิวโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและกระจายความร้อนออกมา ซึ่งอยู่ในรูปของรังสีอินฟราเรด เราจึงรู้สึกร้อน ขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางมาถึงเรา ส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์จะเดินทางผ่านบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกและมาสู่ดิน ทั้งอากาศและน้ำ จะเป็นกับดักพลังงานความร้อน ต่อมา ดินและน้ำจะคายความร้อนให้อากาศ เราจึงรู้สึกร้อน อากาศจึงเป็นที่ดักความร้อนครั้งสุดท้ายของโลก

สัปดาที่ 9 รังสีอัลตราไวดอเลตจากดวงอาทิตย์

รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคต้อกระจก โรคภูมิแพ้ ผิวหนังที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ อาจเป็นมะเร็งได้ ในบรรยากาศมีชั้นโอโซน (Ozone) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม (O+O) ชั้นโอโซนจะมีความหนาพอสมควร ทำหน้าที่รับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ รังสีที่เหลือลงมายังโลกมีเพียงส่วนน้อยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์
........สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Cholo Fluorocabons) หรือซีเอฟซี (CFC)เป็นสารที่มนุษย์ใช้เกี่ยวข้องกับเครื่องทำความเย็นและโฟม สารเฮลโรน (Halons) ซึ่งมีธาตุจำพวกคลอรีน (Cl) โบรมีน (Br) สารไนตรัสออกไซด์ สารเหล่านี้มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดมากขึ้นในบรรยากาศ มีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนบางลงและเมื่อชั้นโอโซนบางลงทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตทะลุผ่านมายังผิวโลกได้มาก ผลคืออุณหภูมิโลก ร้อนขึ้นจึงเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

สัปดาที่ 8 พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตยื

อิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อโลกของเรา
.... ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์มีอิทธิพล
ต่อโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์มาก ที่สำคัญ ๆ คือ ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกแตกต่างกันคือ เขตร้อน เขตอบอุ่น
เขตหนาว ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศที่สำคัญคือ ลม การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร คือ
กระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็น นอกจากนั้น ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดวัฎจักรของน้ำซึ่งมีผลต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดวงอาทิตย์นอกจาก
จะให้แสงสว่างแก่โลกเราแล้วยังกระจายรังสีออกมาด้วย ซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อโลกเรานั้น
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกแตกต่างกัน เขตต่างๆ ของโลกที่สำคัญๆ คือ
เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว เพราะเขตร้อนได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่มีระยะทางสั้นที่สุด จึงทำ
ให้ร้อนที่สุด ส่วนเขตอบอุ่น เขตหนาว ระยะของแสงจะยาวขึ้นไปตามลำดับ
ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศ ในเวลาเดียวกัน แต่ละเขตแต่ละถิ่นจะได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันและระบายความร้อนไม่เท่ากัน เมื่ออากาศ ณ ที่แห่งหนึ่งได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะมีคุณสมบัติเบาขยายตัวลอยสูงขึ้น ณ ที่อีกแห่งหนึ่งมวลอากาศเย็น ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ ขณะที่มวลอากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนตัวมาแทนที่ เราเรียกว่า “ลม” หรือการหมุนเวียนของกระแสอากาศ และแต่ละแห่งของโลกจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันตามเขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว จะมีลมประจำปีคือ ลมมรสุม ลมตะวันตก ลมขั้วโลก ตามสถานที่เฉพาะถิ่นจะมีลมบก ลมทะเล ลมว่าว ลมตะเภา เป็นต้น แต่ลมภูเขา ลมบก ลมทะเล เกิดจากการรับความร้อนและการคายความร้อนไม่เท่ากัน คุณสมบัติของน้ำจะรับความร้อนช้าคายความร้อนเร็ว คุณสมบัติของดินจะรับความร้อนเร็วกว่าน้ำคายความร้อนช้ากว่าน้ำคุณสมบัติของหินภูเขา จะรับความร้อนเร็วกว่าดินคายความร้อนเร็วกว่า

สัปดาที่ 7 ความรู้เบื่องต้นของคอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื่องต้น
คอมพิวเตอร์ คือ ? •เครื่องคำนวณ –อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ –สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล –นำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่ต้องการ –แสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
•คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว
•คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
•คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำ รายงานลักษณะต่างๆ ได้โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
•คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
•คอมพิวเตอร์สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
•คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว
•คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
•คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
•คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
•คอมพิวเตอร์สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)

สัปดาที่ 6 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

จากรัฐธรรมนูญได้ชี้ให้รัฐต้องเร่งรัด และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ประกอบกับองค์การยูเนสโกในปี 2000 ได้ออกมาเสนอให้พลโลกรู้วิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขและปลอดภัยในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาให้ทุกคนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญในการดำรงชีวิต ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี และเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญในการค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เร้วขึ้น ดังในความรู้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ วิทยาศาสตร์จึงเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อันมีความรู้ ทักษะ(กระบวนการทางวิทยาศาสตร์) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ การสร้างสมประสบการณ์ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลย์และยั่งยืน ทั้งนี้เพราะวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดที่มีเหตุผล สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์และวิจารย์ และมีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาดังที่ระบุในมาตรา 22 ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญมากเช่นเดียวกับการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด จึงจะส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพได้ และในมาตรา 23 ที่ให้มีการบูรณาการความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ สอดคล้องกับเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาการทางความคิดในระดับสูงแล้ว จากการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษามีส่วนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้นด้ว

สัปดาที่ 5 วิทยาศาสตร์

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และใน งานอาชีพต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่าง ๆ ใช้เพื่อ อำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน ล้วนเป็นผลของ ความรู้ วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ ความรู้ วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก ในทางกลับกัน เทคโนโลยีก็ส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิด เป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการ ค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ให้รู้วิทยาศาสตร์ (scientific literacy for all) เพื่อที่จะมีความรู้ ความเข้าใจ โลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ ์สร้างสรรค์ขึ้น และนำความรู้ไปใช้อย่าง มีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศ และดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

สัปดาที่ 4 วิทยาศาสตร์กับความรัก

วิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้องกับวันแห่งความรักได้อย่างไร ?

สำหรับผู้ที่เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ก็จะช่วยตอบได้อย่างรวดเร็วว่า ทำไมวิทยาศาสตร์จะไม่เกี่ยวข้องกับความรักล่ะ ในเมื่อวิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องของชีวิตด้วย มิใช่จะเป็นเรื่องของวัตถุของธรรมชาติเท่านั้น เพราะความหมายกว้างที่สุดความหมายหนึ่งของวิทยาศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ (ทั้งใกล้และไกลตัวมนุษย์) และความรู้เกี่ยวกับตัวมนุษย์เอง ที่สำคัญ วิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องของ พฤติกรรมของมนุษย์ที่มารวมกันอยู่เป็นสังคมด้วย ความทุกข์ความสุขของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ด้วย
ความรัก เป็นเรื่องของคนสองคน หรือเป็นเรื่องของคนๆ หนึ่ง กับคนอื่นๆ ที่ถือเป็นเพื่อนมนุษย์ หรือเป็นเรื่องของคนๆ หนึ่ง กับธรรมชาติ ความรักจึงเป็นสิ่งที่มากับธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม แล้วก็เป็นเรื่องของการที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศด้วย ระบบนิเวศของดาวเคราะห์โลก ที่มหัศจรรย์และหลากหลายด้วยสรรพสิ่งอันหลากสีสัน ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ...
และวิทยาศาสตร์ก็เจาะศึกษาเรื่องของความรักด้วย เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ทั้งในส่วนเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ และส่วนเกี่ยวกับความเป็นตัวตนของมนุษย์
แต่เดิมมา เมื่อยังไม่มีการเจาะศึกษาเรื่องของความรู้สึกที่เรียกกันว่า ความรัก อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ความเข้าใจโดยทั่วๆ ไป คือ ความรักเป็นเรื่องของอารมณ์ เป็นเรื่องของความรู้สึก ที่วิทยาศาสตร์ไม่น่าจะเจาะศึกษาได้ หรือเป็นเรื่องที่วิทยาศาสตร์ไม่น่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะมีคนเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่รู้สึกว่า วิทยาศาสตร์ไปทำลายความมหัศจรรย์ จากเสน่ห์ของความลึกลับในบางเรื่อง ดังเช่นเรื่องมนุษย์เรา
มีมุมมองว่า ก่อนที่วิทยาศาสตร์จะเจาะศึกษากลไกแห่งความเป็นมนุษย์ คือ ตัวตนของมนุษย์ สิ่งที่งดงามที่สุด ชวนพิศวงที่สุด ที่กำเนิดเกิดขึ้นมาบนโลก ก็คือ ตัวมนุษย์เอง ความมหัศจรรย์อันหลากหลายที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ตามวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ความเป็น ความตาย ความโง่ ความฉลาด ความละเอียดอ่อนของอารมณ์และความรู้สึก ความหยาบกร้านของอารมณ์และความรู้สึก
ทว่า เมื่อวิทยาศาสตร์ได้เจาะศึกษากลไกแห่งความเป็นมนุษย์ ตัวตนของมนุษย์ ก็ทำให้ภาพของมนุษย์เปลี่ยนไป เป็นระบบกลไกที่ทำงานแบบเดียวกับเครื่องจักรกล อวัยวะที่ถูกเก็บซ่อนอย่างเป็นระเบียบอยู่ภายใน โครงกระดูกของร่างกายและผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกาย

สัปดาที่ 3 ความหมายของวิทยาศสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์ คำว่า วิทยาศาสตร์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Science" ซึ่งมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า "Scientia" แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้ ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 1) กล่าวว่า ถ้าจะให้นิยามความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า "ความรู้" ตามความหมายที่แปลมาจากภาษาลาติน ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่สั้นและแคบจนเกินไป เพราะธรรมชาติหรือแก่นสารที่แท้จริงของวิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้หมายถึงความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งหมายความว่าในการเรียนวิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะต้องได้ทั้งตัวความรู้วิทยาศาสตร์ วิธีการ และเจตคติวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน พัชราภรณ์ พสุวัต (2522 : 3) อธิบายว่า วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีเนื้อหาสาระซึ่งเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริง (facts) เหล่านั้นเพื่อนำมาประมวลเป็นความรู้ (knowledge) และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ (principles) ขึ้น ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์. (2534 : 5) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ว่าหมายถึง ความรู้ที่แสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบและขั้นตอน สรุปได้เป็นกฎเกณฑ์สากล เป็นความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการที่เริ่มต้นด้วยการสังเกต และ/หรือ การจัดที่เป็นระเบียบมีขั้นตอน และปราศจากอคติ ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมายของ The Columbia Encyclopedia (อ้างถึงใน สมจิต สวธนไพบูลย์ 2535 : 93) ซึ่งอธิบายว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการรวบรวมความรู้อย่างมีระบบ ความรู้ที่ได้รวบรวมไว้นี้เป็นความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นนั้น มิได้หมายถึงเฉพาะการรวบรวมข้อเท็จจริงเพียงสภาพพลวัต หรือมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้นจากภายในหรือจากสภาพภายนอก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการสังเกตธรรมชาติและการวิเคราะห์วิจัย วิทยาศาสตร์จึงเป็นสากลเพราะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการเดียวกัน วิทยาศาสตร์จึงไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม อีกท่านหนึ่งที่ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้อย่างละเอียดและชัดเจน คือ มังกร ทองสุขดี (ม.ป.ป. : 1-2) ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งมนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าสะสมมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และจะศึกษาต่อไปในอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น มนุษย์ได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า
1. สิ่งต่าง ๆ มีความเป็นมาอย่างไร
2. สิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไรบ้าง
3. พัฒนาการของสิ่งเหล่านั้นมีระเบียบแบบแผน หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร และจะบังเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร
4. มนุษย์จะนำความรู้ทั้งหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้างยิ่งกว่านั้นวิทยาศาสตร์ยังเป็นความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ทดสอบได้เป็นความรู้ที่มีขอบเขต มีระเบียบ กฎเกณฑ์ เป็นความรู้ที่มีรากฐาน มาจาการสังกต การจดบันทึก การตั้งสมมุติฐาน โดยใช้หลักฐานทางปรัชญา และตรรกศาสตร์ แล้วพยายามวัดหรือหาค่าออกมาทั้งในด้านคุณค่า (นามธรรม) และปริมาณ (รูปธรรม) ถ้าจะเปรียบวิทยาศาสตร์เสมือนต้นไม้ใหญ่แล้วรากแก้วที่สำคัญ 3 ราก คือ วิชาปรัชญา ตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์พร้อมกันนี้ สุวัฒก์ นิยมค้า (2531 : 105-107) ได้รวบรวมทัศนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความหมายของวิทยาศาสตร์ จากนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้คือ
1. แนช (Nash) นักเคมีกล่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิถีทางอย่างหนึ่งของการเข้าไปสำรวจโลก ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะกระบวนการ
2. วิกเนอร์ (Wigner) นักฟิสิกส์กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ของ ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ได้สะสมไว้ ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้
3. บูเบ้ (Bube) นักฟิสิกส์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ของโลกธรรมชาติ ซึ่งได้มาโดยผ่านการปะทะสังสรรค์กับประสาทสัมผัส ซึ่งถือเป็นการมองวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวความรู้กับกระบวนการ โดยเน้นว่า กระบวนการที่ขาดไม่ได้ คือ การสังเกต
4. ฟิชเชอร์ (Fischer) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ วิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอเนีย กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ องค์ของความรู้ ซึ่งได้มาโดยวิธีการวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน
5. สแตฟฟอร์ด และคณะ (Stafford and others) นักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการ ดังนี้ คือ
5.1 วิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ตรงกับปรากฎการณ์ของธรรมชาติ (วัตถุและเหตุการณ์ที่แวดล้อมเราอยู่) แล้วมีการรวบรวมรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับวัตถุและเหตุการณ์นั้น ๆ
5.2 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำข้อมูลและการตีความหมายข้อมูลที่ได้
5.3 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติเป็นคู่แฝด ด้านหนึ่งนั้นเป็นการสะสมความรู้ที่ได้ผ่านการทดลองแล้ว และอีกด้านหนึ่งจะเป็นวิธีการค้นหาความรู้
5.4 วิทยาศาสตร์มีธรรมชาติที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
5.5 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับความพยายาม ที่จะอธิบายปรากฎการณ์ที่ เกิดขึ้น หรืออธิบายกฎเกณฑ์ที่ได้จากปรากฎการณ์นั้น รวมทั้งการขยายความรู้ให้กว้างออกไปเลยจากประสบการณ์ที่ได้รับ
5.6 ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับเพิ่มนั้น มีลักษณะสืบต่อจากความรู้เก่าที่มีคนค้นพบไว้แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนใหม่ จะอาศัยความรู้และความคิดของนักวิทยาศาสตร์คนก่อน ๆ เป็นบันไดก้าวไปหาความรู้ใหม่ต่อไป
6. จาคอบสันและเบอร์กแมน (Jacobson & Bergman) ได้อธิบายธรรมชาติและโครงสร้างของวิทยาศาสตร์ว่า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
6.1 ส่วนที่เป็นความจริงพื้นฐาน ที่ไม่ต้องพิสูจน์ (assumptions in science)

6.2 ส่วนที่เป็นวิธีการ และกระบวนการวิทยาศาสตร์ (methods and processes of science)
6.3 ส่วนที่เป็นตัวความรู้ (broad generalizations of science)จากการที่มีผู้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ไว้หลากหลายสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้ คือ
1. จากความหมายของรากศัพท์ของวิทยาศาสตร์ จากภาษาลาติน หมายถึง องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน
2. จากการวิเคราะห์ประวัติการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัวความรู้ของธรรมชาติที่ค้นพบกับส่วนที่เป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้นั้นมา
3. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ จะมี 3 ประเด็น คือ
3.1 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ
3.2 มองวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นองค์ความรู้ธรรมชาติ
3.3 มองวิทยาศาสตรเป็นทั้งองค์ความรู้ของธรรมชาติ และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของธรรมชาติ
4. จากการให้ความหมายตามทัศนะของนักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็น 2 มิติ ควบคู่กันไป คือ มิติทางด้านองค์ความรู้ของธรรมชาติ และ มิติทางด้านกระบวนการที่ใช้สืบเสาะหาความรู้นั้น

สัปดาที่ 1 ประเภทของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน
วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้จากการค้นพบในธรรมชาติ ได้แก่ ข้อเท็จจริง หลักการ กฎ ทฤษฎี ได้แก่วิชาการต่างๆ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ เราเรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่า นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เป็นต้น
ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ที่มีชื่อเสียง เช่น
อาร์คีเมเดส ผู้ค้นพบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
เซอร์ ไอแซก นิวตัน ผู้ตั้งกฎของความโน้มถ่วง กฎการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทฤษฎีเกี่ยวกับการหักเหของแสง
ชาลส์ ดาร์วิน ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
แอลเบริ์ต ไอน์สไตน์ ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการนำความรู้พื้นฐานทาง

2.วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่านักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย วิศวกร แพทย์ เภสัชกร เกษตรกร เป็นต้น ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ที่มีชื่อเสียง เช่น
ทอมัส แอลวา เอดิสัน ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
กาลิเลโอ กาลิเลอิ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบหักเห
หลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้คิดทำเซรุ่มสำหรับฉีดแก้พิษงู และพิษสุนัขบ้า
โจเซฟ ลิสเตอร์ ผู้ริเริ่มการใช้สารระงับเชื้อ
มาร์เคเซ กูลีเอลโม มาร์โคนี ผู้ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข
วิลเบอร์ และออร์วิล ไรต์ ผู้สร้างเครื่องร่อนพร้อมทั้งปรับปรุงพัฒนาเป็นเครื่องบิน

สัปดาที่ 2 ประวัติของวิทยาสสตร์

ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย

นับตั้งแต่อดีตอันยาวนาน คนไทยมีลักษณะนิสัยที่เปิดใจกว้างยอมรับวัฒนธรรมของชาติอื่น มีขันติต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตน และยินดีเรียนรู้วัฒนธรรมของโลกภายนอก คนไทยพร้อมที่จะยอมรับวัฒนธรรมต่างถิ่นในส่วนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และช่วยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จึงเป็นผลให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทยมีลักษณะเฉพาะตัว ท่ามกลางการพัฒนาในกระแสโลกด้วยเช่นกัน กล่าวคือ คนไทยมีแนวโน้มที่จะเป็น "ผู้ตาม" มากกว่าเป็น "ผู้นำ" และเป็น "ผู้บริโภค" มากกว่าเป็น "ผู้ผลิต"
เย็นใจ เลาหวนิช (2530 :65) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับชีวิตไทยตั้งแต่โบราณกาล แต่มิได้เรียกกันว่า "เทคโนโลยี" เพราะเป็นคำใหม่ซึ่งเพิ่งจะปรากฎเป็นทางการครั้งแรกในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 คนส่วนมากในอดีตรู้จักเทคโนโลยีในฐานะ "วิชาช่าง" ต่าง ๆ ช่างไทยในสมัยโบราณได้ฝากฝีมืออันน่าพิศวงไว้เป็นมรดกของชาติ ดัง ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้หลายเรื่อง สำหรับประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ
1.สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (ก่อน พ.ศ. 1792) ผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นดินแดนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสายนับเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว จากชุมชนหมู่บ้านที่กระจายตัวอยู่ทั้งบนที่สูงและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเมือง และพัฒนาเป็นแว่นแคว้นในภูมิภาคต่าง ๆ นับตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 11 หรือ 12 เป็นต้นมา
2.สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1972-พ.ศ. 1893) ตลอดระยะเวลา 200 ปี ของอาณาจักรสุโขทัย พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทยมีความสามารถสูงในการผสมผสานอิทธิพลอันหลากหลายของอารยธรรมอินเดีย ลังกา มอญ ขอมและจีนให้เข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่น จนสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะโดดเด่นของสุโขทัยได้เป็นผลสำเร็จ โดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยนับเป็นมรดกอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้มอบให้ไว้ช่วยเชื่อมโยงให้คนไทยกลุ่มต่าง ๆ มีความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป้นไทย
3.สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 18สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน) สังคมไทยจึงเริ่มมีโอกาสได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์ยุคใหม่จากชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากขึ้นทั้งที่เป็นพ่อค้า นักสอนศาสนา หรือมิชชันนารี และที่เป็นทูตตัวแทนจากประเทศตะวันตก สำหรับคนไทยโดยทั่ว ๆ ไป วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นต้นมา เมื่อชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากขึ้นอีก แต่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่คนไทยได้สัมผัสส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับด้านการดำรงชีวิต งานศิลปะ และการทหาร เช่น อาวุธในการสู้รบ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้ทรงเห็นความสำคัญของการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยุคใหม่เข้ามาพัฒนาประเทศ พระองค์จึงได้ทรงส่งนักเรียนไทยไปศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ต่างประเทศ ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา อาศัยความเหมาะสมหลายประการ อาทิ ความสมบูรณ์ของพื้นที่ เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเกษตรเลี้ยงดูผู้คนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเลมากนักติดต่อค้า