วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัปดาที่ 2 ประวัติของวิทยาสสตร์

ประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย

นับตั้งแต่อดีตอันยาวนาน คนไทยมีลักษณะนิสัยที่เปิดใจกว้างยอมรับวัฒนธรรมของชาติอื่น มีขันติต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตน และยินดีเรียนรู้วัฒนธรรมของโลกภายนอก คนไทยพร้อมที่จะยอมรับวัฒนธรรมต่างถิ่นในส่วนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และช่วยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จึงเป็นผลให้การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทยมีลักษณะเฉพาะตัว ท่ามกลางการพัฒนาในกระแสโลกด้วยเช่นกัน กล่าวคือ คนไทยมีแนวโน้มที่จะเป็น "ผู้ตาม" มากกว่าเป็น "ผู้นำ" และเป็น "ผู้บริโภค" มากกว่าเป็น "ผู้ผลิต"
เย็นใจ เลาหวนิช (2530 :65) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กับชีวิตไทยตั้งแต่โบราณกาล แต่มิได้เรียกกันว่า "เทคโนโลยี" เพราะเป็นคำใหม่ซึ่งเพิ่งจะปรากฎเป็นทางการครั้งแรกในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 คนส่วนมากในอดีตรู้จักเทคโนโลยีในฐานะ "วิชาช่าง" ต่าง ๆ ช่างไทยในสมัยโบราณได้ฝากฝีมืออันน่าพิศวงไว้เป็นมรดกของชาติ ดัง ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้หลายเรื่อง สำหรับประวัติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย แบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ คือ
1.สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (ก่อน พ.ศ. 1792) ผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นดินแดนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสายนับเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว จากชุมชนหมู่บ้านที่กระจายตัวอยู่ทั้งบนที่สูงและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเมือง และพัฒนาเป็นแว่นแคว้นในภูมิภาคต่าง ๆ นับตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 11 หรือ 12 เป็นต้นมา
2.สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1972-พ.ศ. 1893) ตลอดระยะเวลา 200 ปี ของอาณาจักรสุโขทัย พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทยมีความสามารถสูงในการผสมผสานอิทธิพลอันหลากหลายของอารยธรรมอินเดีย ลังกา มอญ ขอมและจีนให้เข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่น จนสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะโดดเด่นของสุโขทัยได้เป็นผลสำเร็จ โดยเฉพาะการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยนับเป็นมรดกอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้มอบให้ไว้ช่วยเชื่อมโยงให้คนไทยกลุ่มต่าง ๆ มีความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป้นไทย
3.สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 18สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน) สังคมไทยจึงเริ่มมีโอกาสได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์ยุคใหม่จากชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากขึ้นทั้งที่เป็นพ่อค้า นักสอนศาสนา หรือมิชชันนารี และที่เป็นทูตตัวแทนจากประเทศตะวันตก สำหรับคนไทยโดยทั่ว ๆ ไป วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นต้นมา เมื่อชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากขึ้นอีก แต่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่คนไทยได้สัมผัสส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับด้านการดำรงชีวิต งานศิลปะ และการทหาร เช่น อาวุธในการสู้รบ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้ทรงเห็นความสำคัญของการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยุคใหม่เข้ามาพัฒนาประเทศ พระองค์จึงได้ทรงส่งนักเรียนไทยไปศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ต่างประเทศ ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของอาณาจักรอยุธยา อาศัยความเหมาะสมหลายประการ อาทิ ความสมบูรณ์ของพื้นที่ เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเกษตรเลี้ยงดูผู้คนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเลมากนักติดต่อค้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น